รู้ไว้ใช่ว่าFriday, November 8th, 2024 at 3:06pm
12 วิธีฝึกคิดบวก ไม่ได้ยากอย่างที่คิด +
1. พยายามมองหาข้อดีในเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้น
ฝึกมองโลกในแง่ดี
ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มันจะมีสองด้านเสมอ เพียงแต่ว่าเราจะตีความมันอย่างไร ตัวอย่างเช่น การที่เราถูกคนรักทิ้งเราไป เรารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มันเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา แต่อันที่จริงแล้ว ถ้าเราพยายามมองถึงข้อดีที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นี้ มันอาจจะเป็นเวลาที่เราจะได้กลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้ง ค้นพบในสิ่งที่เราชอบ ตัวตนของตัวเองอย่างแท้จริง และปฏิวัติชีวิตใหม่ เพื่อให้เราเป็นคนที่มีศักยภาพสูงที่สุดก็ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวเลวร้ายแค่ไหนในชีวิตเรา ให้ถามตัวเองว่า เราได้อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราจากเรื่องนี้
2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก
สิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก
คนที่อยู่รอบตัวเรา มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อความคิด ความรู้สึกของเรา ดังนั้น การเลือกคบคนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราควรที่จะเลือกคบคนที่มีความคิดเป็นบวก มีความคิดก้าวหน้า ที่จะนำพาชีวิตเราไปในทิศทางที่ดี
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงสื่อต่างๆ ที่เราเสพ ถามตัวเองว่า เรื่องราวต่างๆ ที่เราเสพนั้น มีผลดีอย่างไรกับชีวิตเรา ถ้าหากมันทำให้เรามีความคิดลบๆ ก็ปิดช่องทางการรับสื่อนั้นๆ เสีย
3. ใช้ชีวิตให้ช้าลง
บางครั้งในการที่เราทำอะไรเร็วเกินไป เราอาจจะตัดสินใจผิดพลาด ใช้สัญชาตญาณมากกว่าสติ เพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจ การที่เราใช้ชีวิตให้ช้าลงสักหน่อย จะช่วยทำให้ทั้งใจและกายของเราสงบลงเช่นกัน
4. อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
ถามตัวเองว่าสำคัญจริงหรือไม่
ในบางครั้งเราเอาทุกเรื่องมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับมันมากเกินไป แพรเคยอ่านหนังสือเรื่อง the magic of thinking big ซึ่งมีตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ให้เราถามตัวเองว่า เรื่องนี้มันมีความสำคัญกับเราขนาดนั้นจริงๆ เหรอ ก่อนที่เราจะมีปฏิกริยาตอบสนองกับสิ่งนั้น ให้เราโฟกัสไปที่เป้าหมายที่เราต้องการ แทนที่จะใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ตัวอย่างเช่น เราต้องการที่จะได้สัญญาที่ลูกน้องลงนาม แต่กว่าที่จะได้มา ต้องผ่านการติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด แทนที่จะเอาเรื่องนั้นๆ มาใส่ใจ และคิดต่อไปต่างๆ นานา ให้โฟกัสในจุดประสงค์และเป้าหมายที่เราต้องการจะได้สิ่งนั้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็พยายามอย่าเก็บมันเอามาใส่ใจให้มากนัก เป็นต้น
5. คิดดีและทำดีกับคนอื่น
หากเรายิ้มให้คนอื่น เขาก็จะยิ้มกลับให้เรา คิดกับคนอื่นในแง่ดีเสมอๆ และสิ่งดีๆ ก็จะกลับมาสู่ตัวเราเช่นกัน
6. ใช้ชีวิตที่ดี
การใช้ชีวิตที่ดี คือการดูแลเอาใจใส่ ทั้งสุขภาพกาย และใจ โดยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ หากเราสามารถรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ได้แล้ว ความรู้สึกหงุดหงิด ขุ่นข้องหมองใจ ก็จะลดน้อยลงไปด้วย
7. เรียนรู้ที่จะรับฟังคำวิพากวิจารณ์
เรียนรู้ที่จะฟังคนอื่น
คนเราหนีไม่พ้นคำวิพากวิจารณ์จากคนอื่น ซึ่งบ่อยครั้งอาจทำให้เรารู้สึกไม่ดี เราควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับมัน โดยการพิจารณาว่า คำวิพากวิจารณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันจะช่วยให้เราปรับปรุงตัวเราให้เป็นคนที่ดีขึ้นได้หรือไม่ หากคำวิพากวิจารณ์นั้นๆ ไม่เป็นความจริง ก็ให้ทำความเข้าใจว่า คนที่พูด เขาอาจจะอยู่ในภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ แล้วก็อย่าไปเอาเรื่องราว นั้นๆ มาใส่ใจให้มากมายนัก
8. เริ่มต้นวันใหม่ด้วยใจที่เป็นบวก
เริ่มต้นวันใหม่ด้วยสติ
ในแต่ละวัน การเริ่มต้นวันใหม่โดยนำพลังงานบวกเข้าตัว เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการ นั่งสมาธิเพื่อเคลียร์จิตใจให้ปลอดโปร่ง วางแผนการทำงานในแต่ละวัน รับประทานอาหารเช้าที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยสิ่งดีๆ จะช่วยให้วันนั้นของคุณเป็นวันที่ดี มากกว่าจะเริ่มต้นด้วยความหงุดหงิด ขุ่นข้องหมองใจ
9. ฝึกเจริญสติตลอดทั้งวัน
การที่เราสามารถรู้เท่าทัน ความคิด ความรู้สึกของเรา จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตไปในทางที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวเรามีความสามารถในการจัดการกับสิ่งต่างๆ เหนือ อารมณ์ความรู้สึกชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับเรา
10. โฟกัสในเรื่องราวดีๆ
ในแต่ละวัน มีทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการเกิดขึ้นเสมอๆ แทนที่เราจะไป โฟกัสกับเรื่องราวที่ไม่ได้ดั่งใจ ให้เราโฟกัสและรู้สึกขอบคุณกับเรื่องราว ดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเราแทน
11.สร้างอารมณ์ขันกับเรื่องราวแย่ๆ ที่เกิดขึ้น
บางครั้งการมองเหตุการณ์ต่างๆ ให้เป็นเรื่องตลกก็สามารถช่วยเราเราได้มาก ไม่ว่าเหตุการณ์ใดก็ตาม หากเราผ่านไปได้ เมื่อเรามองย้อนกลับมา มันอาจจะเป็นแค่เรื่องตลกเรื่องหนึ่งเท่านั้นก็ได้
12. เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ ทุกเรื่องราวเกิดขึ้นเพื่อนำพาตัวเราไปยังจุดที่สูงที่สุดเสมอ เพียงแต่ว่า เราจะสามารถเรียนรู้ และจัดการกับมันได้หรือไม่
ดังนั้นหากเรากำลังประสบกับปัญหา แทนที่จะนั่งกร่นด่า โทษโชคชะตาหรือสิ่งรอบตัว ให้เรา จัดการกับปัญหาด้วยสติปัญญา และเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้เราสามารถจัดการกับชีวิตของเราให้ดีขึ้นต่อไปในวันข้างหน้า
Cr. iSTRONG
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
1. พยายามมองหาข้อดีในเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้น
ฝึกมองโลกในแง่ดี
ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มันจะมีสองด้านเสมอ เพียงแต่ว่าเราจะตีความมันอย่างไร ตัวอย่างเช่น การที่เราถูกคนรักทิ้งเราไป เรารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้มันเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา แต่อันที่จริงแล้ว ถ้าเราพยายามมองถึงข้อดีที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นี้ มันอาจจะเป็นเวลาที่เราจะได้กลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้ง ค้นพบในสิ่งที่เราชอบ ตัวตนของตัวเองอย่างแท้จริง และปฏิวัติชีวิตใหม่ เพื่อให้เราเป็นคนที่มีศักยภาพสูงที่สุดก็ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวเลวร้ายแค่ไหนในชีวิตเรา ให้ถามตัวเองว่า เราได้อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราจากเรื่องนี้
2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก
สิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก
คนที่อยู่รอบตัวเรา มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อความคิด ความรู้สึกของเรา ดังนั้น การเลือกคบคนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราควรที่จะเลือกคบคนที่มีความคิดเป็นบวก มีความคิดก้าวหน้า ที่จะนำพาชีวิตเราไปในทิศทางที่ดี
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงสื่อต่างๆ ที่เราเสพ ถามตัวเองว่า เรื่องราวต่างๆ ที่เราเสพนั้น มีผลดีอย่างไรกับชีวิตเรา ถ้าหากมันทำให้เรามีความคิดลบๆ ก็ปิดช่องทางการรับสื่อนั้นๆ เสีย
3. ใช้ชีวิตให้ช้าลง
บางครั้งในการที่เราทำอะไรเร็วเกินไป เราอาจจะตัดสินใจผิดพลาด ใช้สัญชาตญาณมากกว่าสติ เพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจ การที่เราใช้ชีวิตให้ช้าลงสักหน่อย จะช่วยทำให้ทั้งใจและกายของเราสงบลงเช่นกัน
4. อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
ถามตัวเองว่าสำคัญจริงหรือไม่
ในบางครั้งเราเอาทุกเรื่องมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับมันมากเกินไป แพรเคยอ่านหนังสือเรื่อง the magic of thinking big ซึ่งมีตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ให้เราถามตัวเองว่า เรื่องนี้มันมีความสำคัญกับเราขนาดนั้นจริงๆ เหรอ ก่อนที่เราจะมีปฏิกริยาตอบสนองกับสิ่งนั้น ให้เราโฟกัสไปที่เป้าหมายที่เราต้องการ แทนที่จะใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ตัวอย่างเช่น เราต้องการที่จะได้สัญญาที่ลูกน้องลงนาม แต่กว่าที่จะได้มา ต้องผ่านการติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบ ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด แทนที่จะเอาเรื่องนั้นๆ มาใส่ใจ และคิดต่อไปต่างๆ นานา ให้โฟกัสในจุดประสงค์และเป้าหมายที่เราต้องการจะได้สิ่งนั้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็พยายามอย่าเก็บมันเอามาใส่ใจให้มากนัก เป็นต้น
5. คิดดีและทำดีกับคนอื่น
หากเรายิ้มให้คนอื่น เขาก็จะยิ้มกลับให้เรา คิดกับคนอื่นในแง่ดีเสมอๆ และสิ่งดีๆ ก็จะกลับมาสู่ตัวเราเช่นกัน
6. ใช้ชีวิตที่ดี
การใช้ชีวิตที่ดี คือการดูแลเอาใจใส่ ทั้งสุขภาพกาย และใจ โดยการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ หากเราสามารถรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ได้แล้ว ความรู้สึกหงุดหงิด ขุ่นข้องหมองใจ ก็จะลดน้อยลงไปด้วย
7. เรียนรู้ที่จะรับฟังคำวิพากวิจารณ์
เรียนรู้ที่จะฟังคนอื่น
คนเราหนีไม่พ้นคำวิพากวิจารณ์จากคนอื่น ซึ่งบ่อยครั้งอาจทำให้เรารู้สึกไม่ดี เราควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับมัน โดยการพิจารณาว่า คำวิพากวิจารณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันจะช่วยให้เราปรับปรุงตัวเราให้เป็นคนที่ดีขึ้นได้หรือไม่ หากคำวิพากวิจารณ์นั้นๆ ไม่เป็นความจริง ก็ให้ทำความเข้าใจว่า คนที่พูด เขาอาจจะอยู่ในภาวะอารมณ์ที่ไม่ปกติ แล้วก็อย่าไปเอาเรื่องราว นั้นๆ มาใส่ใจให้มากมายนัก
8. เริ่มต้นวันใหม่ด้วยใจที่เป็นบวก
เริ่มต้นวันใหม่ด้วยสติ
ในแต่ละวัน การเริ่มต้นวันใหม่โดยนำพลังงานบวกเข้าตัว เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการ นั่งสมาธิเพื่อเคลียร์จิตใจให้ปลอดโปร่ง วางแผนการทำงานในแต่ละวัน รับประทานอาหารเช้าที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยสิ่งดีๆ จะช่วยให้วันนั้นของคุณเป็นวันที่ดี มากกว่าจะเริ่มต้นด้วยความหงุดหงิด ขุ่นข้องหมองใจ
9. ฝึกเจริญสติตลอดทั้งวัน
การที่เราสามารถรู้เท่าทัน ความคิด ความรู้สึกของเรา จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตไปในทางที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวเรามีความสามารถในการจัดการกับสิ่งต่างๆ เหนือ อารมณ์ความรู้สึกชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับเรา
10. โฟกัสในเรื่องราวดีๆ
ในแต่ละวัน มีทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ไม่เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการเกิดขึ้นเสมอๆ แทนที่เราจะไป โฟกัสกับเรื่องราวที่ไม่ได้ดั่งใจ ให้เราโฟกัสและรู้สึกขอบคุณกับเรื่องราว ดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเราแทน
11.สร้างอารมณ์ขันกับเรื่องราวแย่ๆ ที่เกิดขึ้น
บางครั้งการมองเหตุการณ์ต่างๆ ให้เป็นเรื่องตลกก็สามารถช่วยเราเราได้มาก ไม่ว่าเหตุการณ์ใดก็ตาม หากเราผ่านไปได้ เมื่อเรามองย้อนกลับมา มันอาจจะเป็นแค่เรื่องตลกเรื่องหนึ่งเท่านั้นก็ได้
12. เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ ทุกเรื่องราวเกิดขึ้นเพื่อนำพาตัวเราไปยังจุดที่สูงที่สุดเสมอ เพียงแต่ว่า เราจะสามารถเรียนรู้ และจัดการกับมันได้หรือไม่
ดังนั้นหากเรากำลังประสบกับปัญหา แทนที่จะนั่งกร่นด่า โทษโชคชะตาหรือสิ่งรอบตัว ให้เรา จัดการกับปัญหาด้วยสติปัญญา และเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้เราสามารถจัดการกับชีวิตของเราให้ดีขึ้นต่อไปในวันข้างหน้า
Cr. iSTRONG
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
รู้ไว้ใช่ว่าThursday, November 7th, 2024 at 4:39pm
อาหารไม่ย่อย แค่ปรับพฤติกรรม…ก็ป้องกันได้+
การป้องกันอาการไม่ย่อยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้วอาจต้องระวังเป็นพิเศษ เราสามารถปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคเหล่านี้!
1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป
2.ในแต่ละมื้อควรทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
3.ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หากรู้สึกว่าหิวบ่อยควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ แทนการกินอาหารมากๆ ในมื้อเดียว
4.หากิจกรรมทำให้ไม่ให้เครียด หรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5.งดทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
“อาหารไม่ย่อย” ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพียงแค่รู้จักปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็สามารถห่างไกลโรคนี้ได้ไม่ยาก!
Cr. โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
การป้องกันอาการไม่ย่อยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้วอาจต้องระวังเป็นพิเศษ เราสามารถปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคเหล่านี้!
1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป
2.ในแต่ละมื้อควรทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
3.ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หากรู้สึกว่าหิวบ่อยควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ แทนการกินอาหารมากๆ ในมื้อเดียว
4.หากิจกรรมทำให้ไม่ให้เครียด หรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5.งดทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
“อาหารไม่ย่อย” ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพียงแค่รู้จักปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็สามารถห่างไกลโรคนี้ได้ไม่ยาก!
Cr. โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
รู้ไว้ใช่ว่าWednesday, November 6th, 2024 at 4:57pm
อาการตาล้า!
โรคตาล้า (Asthenopia)
โรคตาล้า หรือ Asthenopia คือ ภาวะที่ดวงตาอ่อนล้าจากการผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ มีระดับอาการที่ไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก
หากใครที่รู้สึกว่าตนเองอาจเข้าข่ายอาการสายตาล้า ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก เพียงแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือพักสายตาสักระยะหนึ่ง ก็จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นได้
อาการตาล้าที่เกิดขึ้น สามารถสังเกตได้จากอาการเด่นๆที่มักพบได้บ่อย ดังนี้
– ปวดตา กระบอกตา หรือบริเวณรอบๆดวงตา
– มีภาวะตาแห้ง
– เกิดการระคายเคืองตา คันตา หรือ แสบตา
– มีน้ำตาไหลออกมาบ่อยๆ
– มีอาการตาล้า ตาเบลอ มองไม่ชัดเจน
– ดวงตามีความไวต่อแสง
– มองเห็นภาพซ้อนกัน
– บางรายอาจมีอาการอื่นๆเพิ่มเติมร่วมด้วย เช่น วิงเวียนศีรษะ เกิดอาการปวดไมเกรน รู้สึกอยากอาเจียน ภาวะบ้านหมุน กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก หรือปวดคอ บ่า ไหล่
วิธีแก้อาการตาล้า สามารถเลือกรักษา หรือบรรเทาอาการได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่…
– น้ำตาเทียม หรือยาหยอดตา แก้ตาล้าได้ โดยการเพิ่มความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคือง และตาแห้ง
– ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหลีกเลี่ยงไม่ให้ลมมาสัมผัสโดนดวงตาของเราโดยตรง
– ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เช่น ทิศทางและแสงสว่างของหน้าจอ สถานที่ทำงาน หรือห้องให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ต้องการทำ
– ประคบดวงตาด้วยความเย็น จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาที่ตึงเครียดให้ลดลงได้
– พักสายตา เช่น การละสายตาไปมองวัตถุอื่นๆ หรือหลับตาในบางช่วงเวลา
– หลีกเลี่ยงการใช้สายตาอย่างหนัก หรือการเพ่งสายตากับวัตถุหรือสิ่งเล็กๆ
– บริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตาให้แข็งแรง
Cr. โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
โรคตาล้า (Asthenopia)
โรคตาล้า หรือ Asthenopia คือ ภาวะที่ดวงตาอ่อนล้าจากการผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ มีระดับอาการที่ไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก
หากใครที่รู้สึกว่าตนเองอาจเข้าข่ายอาการสายตาล้า ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ไม่ยาก เพียงแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือพักสายตาสักระยะหนึ่ง ก็จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นได้
อาการตาล้าที่เกิดขึ้น สามารถสังเกตได้จากอาการเด่นๆที่มักพบได้บ่อย ดังนี้
– ปวดตา กระบอกตา หรือบริเวณรอบๆดวงตา
– มีภาวะตาแห้ง
– เกิดการระคายเคืองตา คันตา หรือ แสบตา
– มีน้ำตาไหลออกมาบ่อยๆ
– มีอาการตาล้า ตาเบลอ มองไม่ชัดเจน
– ดวงตามีความไวต่อแสง
– มองเห็นภาพซ้อนกัน
– บางรายอาจมีอาการอื่นๆเพิ่มเติมร่วมด้วย เช่น วิงเวียนศีรษะ เกิดอาการปวดไมเกรน รู้สึกอยากอาเจียน ภาวะบ้านหมุน กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก หรือปวดคอ บ่า ไหล่
วิธีแก้อาการตาล้า สามารถเลือกรักษา หรือบรรเทาอาการได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่…
– น้ำตาเทียม หรือยาหยอดตา แก้ตาล้าได้ โดยการเพิ่มความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคือง และตาแห้ง
– ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหลีกเลี่ยงไม่ให้ลมมาสัมผัสโดนดวงตาของเราโดยตรง
– ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เช่น ทิศทางและแสงสว่างของหน้าจอ สถานที่ทำงาน หรือห้องให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ต้องการทำ
– ประคบดวงตาด้วยความเย็น จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาที่ตึงเครียดให้ลดลงได้
– พักสายตา เช่น การละสายตาไปมองวัตถุอื่นๆ หรือหลับตาในบางช่วงเวลา
– หลีกเลี่ยงการใช้สายตาอย่างหนัก หรือการเพ่งสายตากับวัตถุหรือสิ่งเล็กๆ
– บริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตาให้แข็งแรง
Cr. โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
รู้ไว้ใช่ว่าTuesday, November 5th, 2024 at 4:03pm
สัญญาณ Burnout Syndrome อาการของคน เบื่องาน หมดไฟ และวิธีจัดการ!
ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome เป็นภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไป อย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ผู้มีภาวะหมดไฟมีความรู้สึกว่างานนั้นเกินกำลังที่จะทำได้ มีอารมณ์ร่วมกับงานลดลงมาก และไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการทำงานหรือทำงานได้ไม่ดี
นานเข้า ทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน กระทั่งรู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี เป็นรู้สึกลบและเสียใจ ลงท้ายด้วยรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้
โดยองค์การอนามัยโลก ได้ให้อาการหลัก 3 อาการ คือ รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย , มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จ และ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน
คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟ หากรู้สึกว่างานของตนมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
3. ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
6. ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
ระยะต่างๆในการทำงานซึ่งนำมาสู่ภาวะหมดไฟ (Miller & Smith, 1993) แบ่งได้ดังนี้
1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงาน คนทำงานมีความตั้งใจ เสียสละเพื่องานเต็มที่ พยายามปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร
2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า
3. ระยะไฟตก (Brownout) คนที่งานรู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน อาจมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง อาจเริ่มมีการแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง
4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout) หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตนเองไป มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่
5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon) หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย
อย่างไรก็ตาม หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลด้านร่างกาย: อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
2. ผลด้านจิตใจ: บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง/ฝันร้าย อาจพบมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
3. ผลต่อการทำงาน: อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
วิธีการรักษาและป้องกัน Burnout Syndrome ได้แก่
1. การขอความช่วยเหลือ การพูดคุยระบายความเครียด การปรึกษาหารือคนที่อาจช่วยได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง หรือครอบครัว
2. การพบปะสังสรรค์ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง ทั้งช่วงพัก พักทานอาหารกลางวันและช่วงนอกเวลางาน ในขณะเดียวกันให้ลดการพบปะสังสรรค์พูดคุย กับคนที่ทำให้รู้สึกแย่หรือเป็นลบ
3. การเข้าร่วมกลุ่มที่อาจจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ชีวิตมีความหมายมากขึ้น เช่น กลุ่มศาสนา กลุ่มทางสังคม จิตอาสาต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนใหม่ด้วย ทั้งนี้ การเป็นผู้ให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความปลื้มใจและช่วยลดความเครียด แถมยังช่วยให้มีเพื่อนเพิ่มขึ้นด้วย
4. การปรับเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ทำ มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานและชีวิตอื่น ๆ มีความสมดุล
5. การผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงาน จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน และได้ความช่วยเหลือ มีโอกาสทำงานได้ผลดีขึ้น และผ่านเวลาที่ยากลำบากในการทำงานได้ง่ายขึ้น
6. หยุดพักบ้าง พักร้อนบ้าง พาตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
Cr. มติชน
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome เป็นภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไป อย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ผู้มีภาวะหมดไฟมีความรู้สึกว่างานนั้นเกินกำลังที่จะทำได้ มีอารมณ์ร่วมกับงานลดลงมาก และไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการทำงานหรือทำงานได้ไม่ดี
นานเข้า ทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน กระทั่งรู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี เป็นรู้สึกลบและเสียใจ ลงท้ายด้วยรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้
โดยองค์การอนามัยโลก ได้ให้อาการหลัก 3 อาการ คือ รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย , มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จ และ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน
คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟ หากรู้สึกว่างานของตนมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
3. ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
6. ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
ระยะต่างๆในการทำงานซึ่งนำมาสู่ภาวะหมดไฟ (Miller & Smith, 1993) แบ่งได้ดังนี้
1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงาน คนทำงานมีความตั้งใจ เสียสละเพื่องานเต็มที่ พยายามปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร
2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า
3. ระยะไฟตก (Brownout) คนที่งานรู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน อาจมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง อาจเริ่มมีการแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง
4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout) หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตนเองไป มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่
5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon) หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย
อย่างไรก็ตาม หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ผลด้านร่างกาย: อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
2. ผลด้านจิตใจ: บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง/ฝันร้าย อาจพบมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
3. ผลต่อการทำงาน: อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
วิธีการรักษาและป้องกัน Burnout Syndrome ได้แก่
1. การขอความช่วยเหลือ การพูดคุยระบายความเครียด การปรึกษาหารือคนที่อาจช่วยได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง หรือครอบครัว
2. การพบปะสังสรรค์ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง ทั้งช่วงพัก พักทานอาหารกลางวันและช่วงนอกเวลางาน ในขณะเดียวกันให้ลดการพบปะสังสรรค์พูดคุย กับคนที่ทำให้รู้สึกแย่หรือเป็นลบ
3. การเข้าร่วมกลุ่มที่อาจจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ชีวิตมีความหมายมากขึ้น เช่น กลุ่มศาสนา กลุ่มทางสังคม จิตอาสาต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนใหม่ด้วย ทั้งนี้ การเป็นผู้ให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความปลื้มใจและช่วยลดความเครียด แถมยังช่วยให้มีเพื่อนเพิ่มขึ้นด้วย
4. การปรับเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ทำ มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานและชีวิตอื่น ๆ มีความสมดุล
5. การผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงาน จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน และได้ความช่วยเหลือ มีโอกาสทำงานได้ผลดีขึ้น และผ่านเวลาที่ยากลำบากในการทำงานได้ง่ายขึ้น
6. หยุดพักบ้าง พักร้อนบ้าง พาตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
Cr. มติชน
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
รู้ไว้ใช่ว่าMonday, November 4th, 2024 at 3:06pm
ต่างวัย ออกกำลังกายต่างกัน !
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเปรียบ เสมือนการ ให้้อาหารเสริมที่ดีกับชีวิตทุกคน จึงควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ด้วยสภาพร่างกาย ที่แตกต่างกันในแต่ละวัย ทำให้ต้องเลือก ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับกลุ่ม อายุเพื่อให้ เกิดผลดีต่อสุขภาพ
เริ่มจากเด็กอายุต่ำกว่า10 ปี ให้เน้นความสนุกสนานเป็นหลักเพื่อฝึก ความคล่องตัวและให้รู้จักเล่นกับเพื่อนควรเป็น การออกกำลังกายแบบเบาๆ ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ อุปกรณ์มากนัก เช่น วิ่ง เล่นเกม กายบริหาร ประกอบดนตรี
วัย 11-14 ปี เน้นความคล่องแคล่ว ปลูกฝังน้ำใจ นักกีฬา ควรเล่นกีฬาหลากหลายเพื่อพัฒนา ร่างกายทุก ส่วน เช่น ปิงปอง แชร์บอล ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน แต่ที่ ควรหลีกเลี่ยงคือ ชกมวย และการออกกำลัง กายที่ต้องใช้ความอดทน เช่น วิ่งไกล กระโดดไกล
วัย 15-17 ปี เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศ ผู้ชายจะ ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดกำลังแข็งแรง รวดเร็ว อดทน เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน ในขณะที่ผู้หญิงควร ออกกำลังกายที่ไม่หนัก แต่ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดแก่ร่างกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก
วัย 18-35 ปี ควรออกกำลังกายหลายๆ อย่างเพื่อ พัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น วิ่ง ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก หรือเลือกเล่นกีฬาประเภท บาสเกตบอล เทนนิส ฟุตบอล แบดมินตัน ปิงปอง
วัย 36-59 ปี วัยนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความอ่อนตัว ของเอ็นและข้อต่อเสื่อมลงทุกวัน ควรออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที จะฟื้นฟู ร่างกายได้
วัย 60 ปีขึ้นไป ควรออกกำลังกายด้วยการเดิน กายบริหาร รำมวยจีน ชี่กง ถีบจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ จะช่วยเสริมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดีขึ้น
การเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม กับวัย เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ต้องปฏิบัติ เป็นประจำ รับรองได้ว่า ดีทั้งสุขภาพกายและ สุขภาพจิตแน่นอน
Cr. กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเปรียบ เสมือนการ ให้้อาหารเสริมที่ดีกับชีวิตทุกคน จึงควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ด้วยสภาพร่างกาย ที่แตกต่างกันในแต่ละวัย ทำให้ต้องเลือก ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับกลุ่ม อายุเพื่อให้ เกิดผลดีต่อสุขภาพ
เริ่มจากเด็กอายุต่ำกว่า10 ปี ให้เน้นความสนุกสนานเป็นหลักเพื่อฝึก ความคล่องตัวและให้รู้จักเล่นกับเพื่อนควรเป็น การออกกำลังกายแบบเบาๆ ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ อุปกรณ์มากนัก เช่น วิ่ง เล่นเกม กายบริหาร ประกอบดนตรี
วัย 11-14 ปี เน้นความคล่องแคล่ว ปลูกฝังน้ำใจ นักกีฬา ควรเล่นกีฬาหลากหลายเพื่อพัฒนา ร่างกายทุก ส่วน เช่น ปิงปอง แชร์บอล ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน แต่ที่ ควรหลีกเลี่ยงคือ ชกมวย และการออกกำลัง กายที่ต้องใช้ความอดทน เช่น วิ่งไกล กระโดดไกล
วัย 15-17 ปี เริ่มมีความแตกต่างระหว่างเพศ ผู้ชายจะ ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดกำลังแข็งแรง รวดเร็ว อดทน เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน ในขณะที่ผู้หญิงควร ออกกำลังกายที่ไม่หนัก แต่ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุดแก่ร่างกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก
วัย 18-35 ปี ควรออกกำลังกายหลายๆ อย่างเพื่อ พัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น วิ่ง ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก หรือเลือกเล่นกีฬาประเภท บาสเกตบอล เทนนิส ฟุตบอล แบดมินตัน ปิงปอง
วัย 36-59 ปี วัยนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความอ่อนตัว ของเอ็นและข้อต่อเสื่อมลงทุกวัน ควรออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที จะฟื้นฟู ร่างกายได้
วัย 60 ปีขึ้นไป ควรออกกำลังกายด้วยการเดิน กายบริหาร รำมวยจีน ชี่กง ถีบจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ จะช่วยเสริมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดีขึ้น
การเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม กับวัย เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ต้องปฏิบัติ เป็นประจำ รับรองได้ว่า ดีทั้งสุขภาพกายและ สุขภาพจิตแน่นอน
Cr. กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
รู้ไว้ใช่ว่าSaturday, November 2nd, 2024 at 1:40pm
7 วิธีพักผ่อนที่ร่างกายและจิตใจต้องการ!
คุณเคยไหม? ทำงานเหนื่อยมาทั้งสัปดาห์ พอถึงวันหยุดทั้งทีเลยนอนอืดอยู่บนโซฟา สั่งแกร๊บ เปิดเน็ตฟลิกซ์ดูจนตาแฉะ จากนั้นก็เข้านอนหลับยาว 7-8 ชั่วโมง แต่เอ๊ะทำไม… พอตื่นมาวันจันทร์แล้วก็ยังรู้สึกเหนื่อยล้า เหมือนกับว่าเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้ชาร์ตแบตให้สดใสขึ้นเลย
ถ้าสิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับคุณ บางทีคุณอาจกำลังเข้าใจผิด คิดว่าการนอนคือการพักผ่อนทั้งหมดที่คุณต้องการ… แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่!
Saundra Dalton-Smith แพทย์ที่มีประสบการณ์การทำงานมายาวนานกว่า 20 ปี และผู้เขียนหนังสือขายดี ‘Sacred Rest’ ได้กล่าวไว้ใน TED Talk อันลือลั่นของเธอว่า จริงๆ แล้ว การนอนเป็นเพียงการพักผ่อนวิธีหนึ่งเท่านั้น แต่คนเรายังต้องการดูแลตัวเองด้วยการพักผ่อนที่แตกต่างกันอีก 7 ประเภทด้วยกัน เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ฟื้นฟูกลับมากระฉับกระเฉงอีกครั้ง
1. พักผ่อนทางกาย (Physical Rest)
เปาโล คูเอลโญ (Paulo Coelho) นักเขียนชื่อดังกล่าวไว้ในหนังสือ ‘The Archer’ ของเขาว่า ร่างกายก็เหมือนคันธนูที่ไม่สามารถถูกหยิบจับมาใช้งานได้ตลอดเวลา แต่เราต้องให้คันธนูได้พัก สายที่หย่อนยานจากการดึงรั้งจึงจะฟื้นตัวกลับมาตึงดังเดิม แน่นอน การพักผ่อนทางกายวิธีแรกก็คือ การปิดสวิทช์ร่างกาย หรือการนอนหลับนั่นเอง แต่นอกเหนือจากการนอนแล้ว ร่างกายยังต้องการการผ่อนคลายในแบบอื่นด้วย เช่น โยคะ การยืดเหยียด และการนวด เป็นต้น โดยเราควรให้รางวัลแก่ร่างกายอันเหนื่อยล้าของเราด้วยวิธีเหล่านี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
2. พักผ่อนทางจิตใจ (Mental Rest)
หลายคนนอนเต็มอิ่มมา 8 ชั่วโมง พอถึงออฟฟิศก็จัดกาแฟแก้วใหญ่ แต่ตลอดทั้งวันกลับป้ำๆ เป๋อๆ ลืมโน่นลืมนี่ ฟังอ่านอะไรก็ไม่แตก แล้วก็ทำผิดพลาดไปหมด แถมพอถึงเวลานอนก็ยังมีเสียงความคิดของตัวเองดังในหัวเต็มไปหมด… หากใครประสบกับปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเพราะจิตใจของคุณไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ
การพักผ่อนทางจิตใจที่ดีที่สุดคือการเข้าหาธรรมชาติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลาออกไปอยู่ป่าอยู่เขา หรือลาพักร้อนไปเที่ยวต่างจังหวัดทุกเดือน (ซึ่งอาจทำให้คุณถูกไล่ออก) เพราะในระหว่างวันทำงาน คุณก็สามารถพักจิตใจได้ง่ายๆ ด้วยการละจากการงานสัก 10 นาที ในทุกๆ 2 ชั่วโมง แล้วอาจออกไปเดินเล่น กินขนม สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อทำสมาธิ หรือถ้ามีสวนสาธารณะอยู่ใกล้ๆ ที่ทำงาน คุณก็อาจออกไปเดินยืดเส้นยืดสายสักพัก มองดูต้นไม้เขียวๆ ฟ้าใสๆ … เชื่อเถอะว่า พอกลับมาทำงาน สมองของคุณจะปลอดโปร่งโล่งกว่าเดิม
3. พักประสาทสัมผัส (Sensory Rest)
ทุกวันนี้ เราต่างรายล้อมด้วยแสงไฟจากจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเลต ไหนจะเสียงดนตรีดังสนั่นจากคลิปที่คนข้างๆ เปิดดู และเสียงของเครื่องมือสื่อสารเหล่านั้นที่ดังปิ๊งป่องๆ ทั้งวัน จนแทบหาความสงบไม่ได้ แล้วเชื่อไหมว่าแสงจ้าและเสียงน่ารำคาญพวกนั้นทำให้เราเหนื่อยล้า
หากคุณยังจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเหล่านั้นในการทำงาน อย่างน้อยๆ ขอให้แน่ใจว่าคุณปิดสวิทช์ทุกอย่างก่อนจะเข้านอน และถ้าเป็นไปได้ ในระหว่างวัน คุณควรมีช่วงเวลาที่ตัวคุณเองได้นั่งนิ่งๆ พักสายตาจากแสงจ้า และพักหูจากเสียงต่างๆ
4. พักผ่อนอย่างสร้างสรรค์ (Creative Rest)
คนในแวดวงความคิดสร้างสรรค์ต้องอ่านข้อนี้ให้ดี เวลาที่คุณคิดงานไม่ออก คำแนะนำก็คือ อย่ามัวแต่นั่งอยู่กับโต๊ะและเขกหัวตัวเองไปมา คุณควรทิ้งโทรศัพท์ไว้แล้วออกไปเดินเล่น เพราะอย่างที่ Erling Kagge เขียนไว้ในหนังสือ ‘Walking’ อัจฉริยะ นักคิดนักเขียน และผู้ที่ประสบความสำเร็จหลายคน เกิดความคิดดีๆ ตอนที่ออกไปเดินทั้งนั้น คุณยังอาจเลือกพักสมองด้วยการฟังเพลงที่คุณชอบ ดูหนังหรืออ่านหนังสือที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ หรือใครที่ชอบงานศิลปะ การออกไปเสพศิลปะดีๆ หรือแม้แต่หางานศิลปะที่คุณชอบติดไว้ในออฟฟิศ ก็เป็นอีกวิธีในการพักผ่อนอย่างสร้างสรรค์
5. พักผ่อนทางอารมณ์ (Emotional Rest)
การพักผ่อนทางอารมณ์จำเป็นมากสำหรับคนแสนดีที่ใครขออะไรก็ “เยสๆๆ” ทำให้ได้หมดทุกอย่าง ทั้งๆ ที่บางอย่างตัวเองก็ไม่ได้อยากตกลงทำให้ แต่เพราะปฏิเสธคนไม่เป็นก็เลยต้องแบกรับทุกอย่างเอาไว้กับตัว แล้วลึกๆ ก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าตัวเองถูกคนอื่นเอาเปรียบ
คุณควรเรียนรู้ที่จะปฏิเสธคนอื่นบ้าง แล้วก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณจะพูดความจริงออกไป อย่างเวลาที่มีคนถามคุณว่า “เป็นไงบ้าง โอเคไหม” ถ้าคุณไม่ได้รู้สึกโอเคเลย ก็ตอบไปตามตรงว่า “ไม่ค่อยโอเคเท่าไร” แล้วเมื่อมีโอกาสก็บอกออกไปเลยว่าอะไรที่ทำให้คุณไม่โอเค
6. พักผ่อนจากสังคม (Social Rest)
คล้ายๆ กับการพักผ่อนทางอารมณ์ เพราะบางครั้ง ความสัมพันธ์ที่เปราะบางและความคาดหวังจากคนรอบข้างก็ทำให้คุณเหนื่อยล้าได้เหมือนกัน สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ลองลิสต์ว่ามีใครบ้างที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยได้อย่างสบายใจ คนที่คอยให้กำลังใจในสิ่งที่คุณทำเสมอ คนที่ง่ายๆ สบายๆ ไม่คาดหวังอะไรจากคุณ แล้วพยายามใช้เวลากับคนเหล่านั้นให้มากกว่าคนที่เรียกร้องต้องการอะไรจากตัวคุณตลอดเวลา เพราะอย่าลืมว่าผู้เป็นมิตรที่แท้จริงไม่สนใจหรอกว่าคุณจะเป็นใครและทำอะไรให้เขาได้บ้าง
7. พักผ่อนจิตวิญญาณ (Spiritual Rest)
หลายคนมีหน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ มีเงินใช้เหลือเฟือ นอนเต็มอิ่ม และมีเวลาออกไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ แต่… ยังคงรู้สึกราวกับว่าชีวิตว่างโหวง ไม่เติมเต็ม
Dalton-Smith เชื่อว่าจิ๊กซอว์ที่หายไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากตัวเรา เธอแนะนำให้เราออกไปทำอะไรเพื่อคนอื่น เช่น เป็นอาสาสมัครทำอาหารให้ผู้ยากไร้ อาสาพาสุนัขในสถานพักพิงเดินเล่น ฯลฯ หรือสำหรับบางคน การหันเข้าหาศรัทธาทางศาสนาที่ช่วยให้จิตใจสงบ ก็อาจเป็นการพักผ่อนทางจิตวิญญาณได้เช่นกัน
Cr. Eisai (Thailand)
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว
คุณเคยไหม? ทำงานเหนื่อยมาทั้งสัปดาห์ พอถึงวันหยุดทั้งทีเลยนอนอืดอยู่บนโซฟา สั่งแกร๊บ เปิดเน็ตฟลิกซ์ดูจนตาแฉะ จากนั้นก็เข้านอนหลับยาว 7-8 ชั่วโมง แต่เอ๊ะทำไม… พอตื่นมาวันจันทร์แล้วก็ยังรู้สึกเหนื่อยล้า เหมือนกับว่าเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้ชาร์ตแบตให้สดใสขึ้นเลย
ถ้าสิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับคุณ บางทีคุณอาจกำลังเข้าใจผิด คิดว่าการนอนคือการพักผ่อนทั้งหมดที่คุณต้องการ… แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่!
Saundra Dalton-Smith แพทย์ที่มีประสบการณ์การทำงานมายาวนานกว่า 20 ปี และผู้เขียนหนังสือขายดี ‘Sacred Rest’ ได้กล่าวไว้ใน TED Talk อันลือลั่นของเธอว่า จริงๆ แล้ว การนอนเป็นเพียงการพักผ่อนวิธีหนึ่งเท่านั้น แต่คนเรายังต้องการดูแลตัวเองด้วยการพักผ่อนที่แตกต่างกันอีก 7 ประเภทด้วยกัน เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ฟื้นฟูกลับมากระฉับกระเฉงอีกครั้ง
1. พักผ่อนทางกาย (Physical Rest)
เปาโล คูเอลโญ (Paulo Coelho) นักเขียนชื่อดังกล่าวไว้ในหนังสือ ‘The Archer’ ของเขาว่า ร่างกายก็เหมือนคันธนูที่ไม่สามารถถูกหยิบจับมาใช้งานได้ตลอดเวลา แต่เราต้องให้คันธนูได้พัก สายที่หย่อนยานจากการดึงรั้งจึงจะฟื้นตัวกลับมาตึงดังเดิม แน่นอน การพักผ่อนทางกายวิธีแรกก็คือ การปิดสวิทช์ร่างกาย หรือการนอนหลับนั่นเอง แต่นอกเหนือจากการนอนแล้ว ร่างกายยังต้องการการผ่อนคลายในแบบอื่นด้วย เช่น โยคะ การยืดเหยียด และการนวด เป็นต้น โดยเราควรให้รางวัลแก่ร่างกายอันเหนื่อยล้าของเราด้วยวิธีเหล่านี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
2. พักผ่อนทางจิตใจ (Mental Rest)
หลายคนนอนเต็มอิ่มมา 8 ชั่วโมง พอถึงออฟฟิศก็จัดกาแฟแก้วใหญ่ แต่ตลอดทั้งวันกลับป้ำๆ เป๋อๆ ลืมโน่นลืมนี่ ฟังอ่านอะไรก็ไม่แตก แล้วก็ทำผิดพลาดไปหมด แถมพอถึงเวลานอนก็ยังมีเสียงความคิดของตัวเองดังในหัวเต็มไปหมด… หากใครประสบกับปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเพราะจิตใจของคุณไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ
การพักผ่อนทางจิตใจที่ดีที่สุดคือการเข้าหาธรรมชาติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลาออกไปอยู่ป่าอยู่เขา หรือลาพักร้อนไปเที่ยวต่างจังหวัดทุกเดือน (ซึ่งอาจทำให้คุณถูกไล่ออก) เพราะในระหว่างวันทำงาน คุณก็สามารถพักจิตใจได้ง่ายๆ ด้วยการละจากการงานสัก 10 นาที ในทุกๆ 2 ชั่วโมง แล้วอาจออกไปเดินเล่น กินขนม สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อทำสมาธิ หรือถ้ามีสวนสาธารณะอยู่ใกล้ๆ ที่ทำงาน คุณก็อาจออกไปเดินยืดเส้นยืดสายสักพัก มองดูต้นไม้เขียวๆ ฟ้าใสๆ … เชื่อเถอะว่า พอกลับมาทำงาน สมองของคุณจะปลอดโปร่งโล่งกว่าเดิม
3. พักประสาทสัมผัส (Sensory Rest)
ทุกวันนี้ เราต่างรายล้อมด้วยแสงไฟจากจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเลต ไหนจะเสียงดนตรีดังสนั่นจากคลิปที่คนข้างๆ เปิดดู และเสียงของเครื่องมือสื่อสารเหล่านั้นที่ดังปิ๊งป่องๆ ทั้งวัน จนแทบหาความสงบไม่ได้ แล้วเชื่อไหมว่าแสงจ้าและเสียงน่ารำคาญพวกนั้นทำให้เราเหนื่อยล้า
หากคุณยังจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเหล่านั้นในการทำงาน อย่างน้อยๆ ขอให้แน่ใจว่าคุณปิดสวิทช์ทุกอย่างก่อนจะเข้านอน และถ้าเป็นไปได้ ในระหว่างวัน คุณควรมีช่วงเวลาที่ตัวคุณเองได้นั่งนิ่งๆ พักสายตาจากแสงจ้า และพักหูจากเสียงต่างๆ
4. พักผ่อนอย่างสร้างสรรค์ (Creative Rest)
คนในแวดวงความคิดสร้างสรรค์ต้องอ่านข้อนี้ให้ดี เวลาที่คุณคิดงานไม่ออก คำแนะนำก็คือ อย่ามัวแต่นั่งอยู่กับโต๊ะและเขกหัวตัวเองไปมา คุณควรทิ้งโทรศัพท์ไว้แล้วออกไปเดินเล่น เพราะอย่างที่ Erling Kagge เขียนไว้ในหนังสือ ‘Walking’ อัจฉริยะ นักคิดนักเขียน และผู้ที่ประสบความสำเร็จหลายคน เกิดความคิดดีๆ ตอนที่ออกไปเดินทั้งนั้น คุณยังอาจเลือกพักสมองด้วยการฟังเพลงที่คุณชอบ ดูหนังหรืออ่านหนังสือที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ หรือใครที่ชอบงานศิลปะ การออกไปเสพศิลปะดีๆ หรือแม้แต่หางานศิลปะที่คุณชอบติดไว้ในออฟฟิศ ก็เป็นอีกวิธีในการพักผ่อนอย่างสร้างสรรค์
5. พักผ่อนทางอารมณ์ (Emotional Rest)
การพักผ่อนทางอารมณ์จำเป็นมากสำหรับคนแสนดีที่ใครขออะไรก็ “เยสๆๆ” ทำให้ได้หมดทุกอย่าง ทั้งๆ ที่บางอย่างตัวเองก็ไม่ได้อยากตกลงทำให้ แต่เพราะปฏิเสธคนไม่เป็นก็เลยต้องแบกรับทุกอย่างเอาไว้กับตัว แล้วลึกๆ ก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าตัวเองถูกคนอื่นเอาเปรียบ
คุณควรเรียนรู้ที่จะปฏิเสธคนอื่นบ้าง แล้วก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณจะพูดความจริงออกไป อย่างเวลาที่มีคนถามคุณว่า “เป็นไงบ้าง โอเคไหม” ถ้าคุณไม่ได้รู้สึกโอเคเลย ก็ตอบไปตามตรงว่า “ไม่ค่อยโอเคเท่าไร” แล้วเมื่อมีโอกาสก็บอกออกไปเลยว่าอะไรที่ทำให้คุณไม่โอเค
6. พักผ่อนจากสังคม (Social Rest)
คล้ายๆ กับการพักผ่อนทางอารมณ์ เพราะบางครั้ง ความสัมพันธ์ที่เปราะบางและความคาดหวังจากคนรอบข้างก็ทำให้คุณเหนื่อยล้าได้เหมือนกัน สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ลองลิสต์ว่ามีใครบ้างที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยได้อย่างสบายใจ คนที่คอยให้กำลังใจในสิ่งที่คุณทำเสมอ คนที่ง่ายๆ สบายๆ ไม่คาดหวังอะไรจากคุณ แล้วพยายามใช้เวลากับคนเหล่านั้นให้มากกว่าคนที่เรียกร้องต้องการอะไรจากตัวคุณตลอดเวลา เพราะอย่าลืมว่าผู้เป็นมิตรที่แท้จริงไม่สนใจหรอกว่าคุณจะเป็นใครและทำอะไรให้เขาได้บ้าง
7. พักผ่อนจิตวิญญาณ (Spiritual Rest)
หลายคนมีหน้าที่การงานที่ประสบความสำเร็จ มีเงินใช้เหลือเฟือ นอนเต็มอิ่ม และมีเวลาออกไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ แต่… ยังคงรู้สึกราวกับว่าชีวิตว่างโหวง ไม่เติมเต็ม
Dalton-Smith เชื่อว่าจิ๊กซอว์ที่หายไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากตัวเรา เธอแนะนำให้เราออกไปทำอะไรเพื่อคนอื่น เช่น เป็นอาสาสมัครทำอาหารให้ผู้ยากไร้ อาสาพาสุนัขในสถานพักพิงเดินเล่น ฯลฯ หรือสำหรับบางคน การหันเข้าหาศรัทธาทางศาสนาที่ช่วยให้จิตใจสงบ ก็อาจเป็นการพักผ่อนทางจิตวิญญาณได้เช่นกัน
Cr. Eisai (Thailand)
#รู้ไว้ใช่ว่า_สุขภาพ #รู้ไว้ใช่ว่า #ความรู้รอบตัว